หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

กระบวนการในการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
วัตถุประสงค์ของการประเมิน
1) เพื่อใช้ผลการประเมินฯ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการวางแผนการติดตามและพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2) เพื่อใช้ผลการประเมินฯ ในการจำแนกระดับการพัฒนาของหมู่บ้าน/ชุมชน
3) เพื่อประเมินให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
แนวทางและขั้นตอนการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง(รายละเอียดตามผัง)

















1) กลไกบริหารการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
                กลไกในกระบวนการประเมินหมู่บ้านในแต่ละระดับ ตั้งแต่หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด อาจใช้ศูนย์ปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาชนบทตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ในระดับจังหวัด  อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน  หรือตามที่แต่ละจังหวัดพิจารณาดำเนินการแต่งตั้ง  
2) การเตรียมความพร้อมก่อนการประเมินหมู่บ้าน
2.1 กรม ฯ จัดทำคู่มือ คำอธิบายตัวชี้วัด วิธีการ ขั้นตอน การประเมิน
 2.2 การสร้างความเข้าใจแก่ผู้ประเมินในทุกระดับ จังหวัด อำเภอ  
2.3 จังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อให้การส่งเสริม สนับสนุนการประเมินหมู่บ้านฯ ติดตาม ตรวจสอบรับรอง
2.4 คณะทำงานระดับ อำเภอ ระดับตำบล ระดับหมู่บ้าน ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของจังหวัด
2.5 ห้วงระยะเวลาของการประเมิน ให้ประเมินผลการดำเนินงานของหมู่บ้าน ดังนี้                              
- ประเมินเบื้องต้นเพื่อจัดระดับหมู่บ้านเป็น 3 ระดับ ประมาณเดือน เมษายน พฤษภาคม
- ส่งเสริมการพัฒนาหมู่บ้าน ดำเนินการพัฒนาหมู่บ้าน ส่งเสริม สนับสนุน ติดตามหมู่บ้านเป้าหมาย ประมาณเดือน มิถุนายน กรกฎาคม
- ประเมินหมู่บ้านเพื่อเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ดำเนินการตรวจสอบ/รับรองและประกาศผลเป็นหมู่บ้านต้นแบบ ประมาณวันที่ 1 15 สิงหาคม

สำหรับในปีต่อไปให้ดำเนินการประเมินหมู่บ้านตามห้วงเวลาของการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.
3) การประเมินหมู่บ้านและการจัดทำทะเบียนข้อมูลหมู่บ้าน
3.1 ระดับหมู่บ้าน   คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน สมาชิกองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในหมู่บ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมเวทีประชาคมในการให้ข้อมูลตามแบบประเมินหมู่บ้านฯ
3.2 ระดับตำบล   คณะทำงานฯ ผู้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลการประเมินหมู่บ้านฯ บันทึกข้อมูลการพัฒนาของหมู่บ้าน โดยใช้เวทีประชาคม เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตรวจสอบ ยืนยันความครบถ้วน ถูกต้องข้อมูลของหมู่บ้านฯ
3.3 ระดับอำเภอ คณะทำงานฯ พิจารณาตรวจสอบการประเมินหมู่บ้านของแต่ละตำบล และจัดทำทะเบียนข้อมูลหมู่บ้านฯ ส่งจังหวัด
3.4 ระดับจังหวัด   รวบรวมทะเบียนข้อมูลหมู่บ้านฯที่อำเภอประเมินแล้วเป็นระดับ 3 ระดับส่งข้อมูลให้กรมการพัฒนาชุมชน
4 ) การส่งเสริมพัฒนาหมู่บ้าน
4.1 หมู่บ้าน ดำเนินการพัฒนาหมู่บ้าน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง โดยมีเป้าหมายการพัฒนาตามเกณฑ์ประเมิน 6 ด้าน 12 ตัวชี้วัด
4.2 ตำบล ให้การสนับสนุนประสานพลังการพัฒนาภายในชุมชน จากภายในชุมชน และภายนอกชุมชน
4.3 อำเภอ ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน กระบวนการเรียนรู้ และประสานการพัฒนากับหน่วยงาน
4.4 จังหวัด สนับสนุนประสานการพัฒนากับหน่วยงาน และติดตามการพัฒนาหมู่บ้าน
                   
5) การประกาศหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
5.1 ระดับอำเภอพิจารณาคัดเลือกหมู่บ้านเพื่อเป็นต้นแบบ (ในกรณีที่หมู่บ้านมีผลคะแนนการประเมินตามตัวชี้วัดเท่ากัน อาจพิจารณาเพิ่มเติมจากระบบการบริหารจัดการชุมชน ศักยภาพของการเป็นแหล่งเรียนรู้ และความยั่งยืน หรือเหตุผลประการอื่นๆ เป็นองค์ประกอบเพิ่มเติม) และจัดทำทะเบียนข้อมูลหมู่บ้านฯ ส่งจังหวัด
5.2 ระดับจังหวัด ตรวจสอบ รับรองหมู่บ้าน และประกาศเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ส่งผลให้กรมการพัฒนาชุมชน
5.3 กรมการพัฒนาชุมชน รวบรวม สรุปผลของแต่ละจังหวัดเป็นภาพรวมของประเทศ   นำเสนอปลัดกระทรวงมหาดไทยเพื่อทราบและเผยแพร่ข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
6) การประกาศเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ระยะเวลา 2 ปี
        - จังหวัด ดำเนินการประกาศเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
             -  ระยะเวลาการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบมีระยะเวลา 2 ปี หลังจากการประกาศ

พื้นที่สำหรับการประเมิน
ดำเนินการประเมินในหมู่บ้านวิถีชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกณฑ์ชี้วัด 6ด้าน 12 ตัวชี้วัด(ตัวชีวัด 6 X 2) เป็นเบื้องต้น พร้อมทั้งมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อยกระดับศักยภาพให้มีความสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านใดมีคุณสมบัติทั้ง 2 ประการนี้ จึงจัดให้มีการประเมินเพื่อจัดระดับ
วิธีการกรอกข้อมูลในแบบประเมิน
1) ผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับศึกษาคู่มือ แนวทาง
2) สร้างความเข้าใจแก่ผู้ประเมินในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
3) ดำเนินการกรอกข้อมูลในแบบประเมิน เริ่มจากกรอกรายละเอียดหน้าแรกให้ครบทุกข้อความ ดำเนินการประเมินให้ครบทั้ง 4 ด้าน ข้อใดที่ผ่านการประเมินแล้ว ให้ทำเครื่องหมาย ลงในช่อง R
4) คำอธิบายตัวชี้วัด 23 ตัวชี้วัด (เอกสารแนบท้าย)
 เมื่อดำเนินการประเมินจนครบ 23 ข้อแล้ว หลังจากนั้นให้ตรวจสอบข้อมูลตัวชี้วัดที่ผ่าน และตัวชี้วัดหลัก เพื่อจัดระดับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเป็น   3 ระดับ ดังนี้
เกณฑ์การจัดระดับหมู่บ้าน
                 ระดับพออยู่  พอกิน หมายถึง หมู่บ้านที่มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับพออยู่ พอกิน เงื่อนไขคือ ดำเนินการครบทั้ง 2 ข้อ
1)   มีตัวชี้วัดผ่านจำนวน 10- 16 ตัวชี้วัด
 2)  และต้องผ่านตัวชี้วัดหลักจำนวน 10 ตัวชี้วัด (ได้แก่ตัวชี้วัดเฉพาะเครื่องหมาย ô ในข้อ1,2,4,8,10,13,16,17,20,21
ระดับอยู่ดี กินดี หมายถึง หมู่บ้านที่มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับอยู่ดี กินดี เงื่อนไข คือ ดำเนินการครบทั้ง   2 ข้อ
1) มีตัวชี้วัดผ่าน 17-22 ตัวชี้วัด
2 ) และต้องผ่านตัวชี้วัดหลัก 17 ตัวชี้วัด (ได้แก่ตัวชี้วัดที่มีเครื่องหมาย ô และôô ในข้อ 1,2,3,4,5,8,9,10,11,1314,16,17,19,20,21,22)
ระดับมั่งมี  ศรีสุข  หมายถึง หมู่บ้านที่มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมั่งมี ศรีสุข ต้องผ่านการประเมินครบ 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด
หากหมู่บ้านใดไม่สามารถจัดระดับได้ จะอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ 6 X 2 เป็นหมู่บ้านที่มีวิถีชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เมื่อดำเนินการจัดระดับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ให้คณะกรรมการหมู่บ้าน/ผู้นำชุมชนลงนามรับรอง และให้ผู้ร่วมประเมินหมู่บ้าน (ศูนย์ ศจพ.ตำบล) ลงนามรับรอง เพื่อส่งผลการประเมินให้อำเภอและจังหวัดดำเนินการตามกระบวนการประเมินต่อไป

หมู่บ้านที่ยึดถือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรากฐานของชีวิต 6 ด้าน 12 ตัวชี้วัด (6x2)

ตัวชี้วัด
ระดับคะแนน
คะแนน       ที่ได้
1
2
3
1.ด้านการลดรายจ่าย
   1.1 ครัวเรือนทำสวนครัว
   1.2 ครัวเรือนปลอดอบายมุข

  50 % ของ คร.ทั้งหมด
 50 % ของคร. ทั้งหมด

51 – 75 % ของคร.ทั้งหมด
51-75 % ของคร.ทั้งหมด

>75  % ของคร.ทั้งหมด
>75 % ของคร.ทั้งหมด

2. ด้านการเพิ่มรายได้
    2.1 ครัวเรือนมีอาชีพเสริม
    2.2 ครัวเรือนใช้เทคโนโลยี          
         ที่เหมาะสม

 20 % ของคร.ทั้งหมด
 30% ของคร.ทั้งหมด

21-30 % ของคร.ทั้งหมด
31-50 % ของคร.ทั้งหมด

>30 % ของคร.ทั้งหมด
>50 % ของคร.ทั้งหมด


3. ด้านการประหยัด
    3.1 ครัวเรือนมีการออมทรัพย์
    3.2 ชุมชนมีกลุ่มออมทรัพย์ ฯ


 50 %ของคร.ทั้งหมด        
มี  1 กลุ่ม

51-75 % ของคร.ทั้งหมด
มี  1  กลุ่มและมีกิจกรรมเพื่อหมู่บ้าน

>75 % ของคร.ทั้งหมด
2 กลุ่มและเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย

4. ด้านการเรียนรู้
    4.1 ชุมชนมีการสืบทอดและใช้   
          ภูมิปัญญาท้องถิ่น
    4.2 ครัวเรือนมีการเรียนรู้ปรัชญา
           เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิต 
           ประจำวัน

มีภูมิปัญญาท้องถิ่น       อย่างน้อย  1 เรื่อง
มีกิจกรรมเรียนรู้ 1 กิจกรรม

มีกิจกรรมสืบทอดและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 1 อย่าง
มีศูนย์เรียนรู้และการจัดกิจกรรม

มีกิจกรรมสืบทอดและใช้    ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2  อย่าง
มีเครือข่ายเรียนรู้กับชุมชนอื่น

5. ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและ
    ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
    5.1 ชุมชนใช้วัตถุดิบอย่างยั่งยืน  
          ในการประกอบอาชีพ
    5.2 ชุมชนปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น          เป็นหมู่บ้านน่าอยู่


50 % ของคร.ทั้งหมด

มีการปลูกต้นไม้ ปีละ 1 ครั้ง  และดูแลรักษา


51-75 % ของคร.ทั้งหมด

มีกิจกรรมการ ปลูกต้นไม้ ปีละ  2-3 ครั้ง


> 75 % ของคร.ทั้งหมด

มีกิจกรรมการปลูกต้นไม้    มากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป

6. ด้านการเอื้ออารีต่อกัน
    6.1 ชุมชนมีการดูแลช่วยเหลือ      
          คนจน คนด้อยโอกาส และ
          คนประสบปัญหา
   6.2 ชุมชน รู้รักสามัคคี


 50 % ของคนจน/ด้อยโอกาส /ประสบปัญหา

มีกิจกรรมการแก้ปัญหาร่วมกัน 1 กิจกรรม

51-75 % ของคนจน/
ด้อยโอกาส /ประสบปัญหา

มีกิจกรรมการแก้ปัญหาร่วมกัน 2 กิจกรรม

> 75 % ของคนจน/                                        ด้อยโอกาส /ประสบปัญหา

มีกิจกรรมการแก้ปัญหาร่วมกัน 3 กิจกรรมขึ้นไป

รวมคะแนน





หมายเหตุ :     1. มท.สนับสนุนเกษตรทฤษฎีใหม่ ให้เป็นแนวทางสู่เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเกษตรกร
2. จังหวัดสามารถพิจารณาดำเนินการให้มีการเพิ่มตัวชี้วัดได้ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่



คำอธิบายตัวชี้วัด 6 ด้าน 12 ตัวชี้วัด
หมู่บ้านที่ยึดถือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรากฐานของชีวิต

ตัวชี้วัด                                        คำอธิบาย 
1.ด้านการลดรายจ่าย
1.1 ครัวเรือนทำสวนครัว                 1.1 ครัวเรือนใช้พื้นที่ว่างบริเวณบ้าน หรือ ใช้กระถาง/
ภาชนะที่ทิ้งแล้วในการปลูกผักไว้กินเองในครอบครัว รวมทั้งการปลูกผักแบบแขวน ในกรณีพื้นที่ที่ไม่สามารถปลูกผักได้อาจมีกิจกรรมอื่นที่ทดแทนกันได้
                                                                  เช่นพื้นที่ชาวเล มีการหาปลากินเองเป็นต้น
1.2 ครัวเรือนปลอดอบายมุข              1.2 สมาชิกทุกคนในครัวเรือน ไม่เสพสิ่งเสพติด ไม่เล่นการ พนันประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี
2.ด้านการเพิ่มรายได้
2.1 ครัวเรือนมีอาชีพเสริม                2.1 ครัวเรือนมีอาชีพอื่นนอกจากอาชีพหลักที่ทำประจำ ทำให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น
2.2 ครัวเรือนใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม     2.2 ครัวเรือนมีการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือในการประกอบ อาชีพ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในครัวเรือนที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ทำให้เกิดความคุ้มค่าและประหยัด    เช่น การใช้ปุ๋ยชีวภาพในการเพาะปลูกและได้ผลผลิตคุ้มค่าการปลูกผักปลอดสารพิษ การใช้พลังงาน ทดแทน ฯลฯ        
3.ด้านการประหยัด
3.1ครัวเรือนมีการออมทรัพย์          3.1 สมาชิกในครัวเรือนมีการฝากเงินไว้กับธนาคาร/สถาบัน     การเงิน/กลุ่มออมทรัพย์ฯ/หรือกลุ่มอื่นๆที่มีการรับฝากเงินกับสมาชิก
  3.2 ชุมชนมีกลุ่มออมทรัพย์ฯ           3.2 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หรือกลุ่มออมทรัพย์อื่นที่มี ลักษณะคล้ายกัน เช่น กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ /กลุ่มออมทรัพย์สตรี/ กลุ่มออมทรัพย์ของกลุ่มอาชีพต่างๆ เป็นต้น
     - มีการเชื่อมโยงเครือข่าย             - การเชื่อมโยงกลุ่ม/องค์กรต่างๆในพื้นที่หรือพื้นที่อื่น
4.ด้านการเรียนรู้
4.1 ชุมชนมีการสืบทอดและใช้
ภูมิปัญญาท้องถิ่น                        4.1 ชุมชนมีการบันทึกภูมิปัญญาในรูปแบบต่างๆ มีการ   ถ่ายทอด และนำไปใช้ประโยชน์อย่าง   กว้างขวาง
4.2 ครัวเรือนมีการเรียนรู้                
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน
ชีวิตประจำวัน                               4.2 คนในครัวเรือนมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดหรือจัดเวทีการเรียนรู้หรือ    
กิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ นำไปสู่ความเข้าใจในการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง        
5.ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 
5.1 ชุมชนใช้วัตถุดิบอย่างยั่งยืน
ในการประกอบอาชีพ                       5.1 ชุมชนมีการใช้วัสดุหรือทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างคุ้มค่าและประหยัดในการประกอบอาชีพ โดยมีการวางแผน
จัดหาทรัพยากรทดแทน ควบคู่กับการอนุรักษ์ เช่น การปลูกพืช/เลี้ยงสัตว์ทดแทน การดูแลรักษาแหล่งน้ำ ป่าไม้
                                                 และสิ่งแวดล้อมเป็นต้น  
                                                                 
5.2 ชุมชนปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น
เป็นหมู่บ้านน่าอยู่                            5.2 ชุมชนส่งเสริมให้มีการปลูกต้นไม้บริเวณที่สาธารณะ ถนนในหมู่บ้าน บริเวณบ้าน หรือที่ว่างในหมู่บ้าน ฯลฯ
                                                 และมีการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
6.ด้านการเอื้ออารีต่อกัน
6.1 ชุมชนมีการดูแลช่วยเหลือ
คนจนคนด้อยโอกาส
 และคนประสบปัญหา                      6.1 ชุมชนมีการจัดสวัสดิการสำหรับคนจน คนด้อยโอกาส และคนประสบปัญหา เช่น การจัดให้มีกองทุนประกอบอาชีพ
กองทุนสงเคราะห์ ต่างๆ การจัดสรรเงินกำไรจากกองทุนชุมชนเพื่อเป็นสวัสดิการ การจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ตลอดจนมีการช่วยเหลือ เกื้อกูลกันในรูปแบบอื่นๆ ที่มิใช่เกี่ยวกับการเงิน เป็นต้น
6.2 ชุมชน"รู้รักสามัคคี"                   6.2 ชุมชนมีการมีการจัดทำแผนชุมชนและนำแผนไปสู่การ ปฏิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหาชุมชนร่วมกัน

ค่าคะแนนผ่านเกณฑ์การประเมิน
 ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50  และต้องได้คะแนนครบทุกด้าน

ตัวชี้วัดสำหรับการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
1.       ด้านจิตใจและสังคม  ประกอบด้วย 7 ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดที่
เกณฑ์การประเมิน
หน่วยการประเมิน
ผลการประเมิน
«
1. มีความสามัคคีและ       ความร่วมมือของคนในหมู่บ้าน
1.1 การประชุม/จัดเวทีประชาคม เพื่อแก้ไขปัญหาหรือเพื่อการพัฒนา
1.2 คนในหมู่บ้าน/ชุมชนมี
ส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ
ของหมู่บ้าน
¨1. หมู่บ้าน/ชุมชนมีการประชุม/ จัดเวทีประชาคมอย่างน้อย 12 ครั้ง  ต่อปี
¨2. คนในหมู่บ้าน/ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆของหมู่บ้านโดยพิจารณาจากการผ่านเกณฑ์ จปฐ.(ผ่านทั้ง 2 ข้อ )
* คนในครัวเรือน อย่างน้อย 1 คน เป็นสมาชิกกลุ่มหรือผ่านเกณฑ์ จปฐ. ข้อ 38
* คนในครัวเรือนอย่างน้อย 1 คน เคยร่วมทำกิจกรรมสาธารณะด้านต่าง ๆ ของหมู่บ้าน/ชุมชน   หรือผ่านเกณฑ์ จปฐ. ข้อ 41 
1. หมู่บ้าน/ชุมชน
2. ครัวเรือน
¨ผ่าน  2 ข้อ
¨ไม่ผ่าน

«
2. มีข้อปฏิบัติของหมู่บ้าน
มีข้อตกลงร่วมกันเพื่อให้คนใน หมู่บ้าน/ชุมชนต้องปฏิบัติ  
ควรปฏิบัติและ/หรือข้อห้ามปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับค่านิยม วัฒนธรรม ประเพณีเพื่อให้เกิดความสงบสุข 
¨หมู่บ้าน/ชุมชน มีการจัดทำข้อปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ เป็นลายลักษณ์อักษร หรือจารีต วัฒนธรรม ประเพณี   ที่ถ่ายทอดสืบต่อ กันมา ที่ก่อให้เกิดความสงบของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน
¨2. คนในหมู่บ้าน/ชุมชน  ร้อยละ 70 ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติของหมู่บ้าน
1.ครัวเรือน
2.หมู่บ้าน/ชุมชน

¨ผ่าน 2 ข้อ
¨ไม่ผ่าน

««
3. มีกองทุนในรูปแบบสวัสดิการแก่สมาชิก
1. หมู่บ้านมีกองทุนสวัสดิการแก่สมาชิกในชุมชน
2. มีการจัดสวัสดิการภายในหมู่บ้าน/ชุมชนที่ยากจน
ด้อยโอกาส และคนที่ประสบปัญหา
¨1. หมู่บ้าน/ชุมชนมีกองทุนในรูปแบบสวัสดิการ  อย่างน้อย 1 กองทุนและสมาชิกในชุมชนมีโอกาสได้รับบริการจากกองทุนครบทุกคน
¨2. คนยากจน ด้อยโอกาส และคนที่ประสบปัญหาได้รับ การช่วยเหลือจากกองทุนสวัสดิการ อย่างน้อยร้อยละ 50
1. หมู่บ้าน/ชุมชน
2. หมู่บ้าน/ชุมชน

¨ผ่าน 2 ข้อ
¨ไม่ผ่าน

«
4.ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย
คนในหมู่บ้าน/ชุมชนมีความตื่นตัวและรู้จักรักษาสิทธิหน้าที่ และเสรีภาพทางการเมืองและในฐานะพลเมืองของประเทศ 
¨1. คนในหมู่บ้าน/ชุมชน ที่มีสิทธิเลือกตั้งและอาศัยอยู่จริง ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งหลังสุด ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90 ของคนที่มีสิทธิเลือกตั้งและอาศัยอยู่จริง (ผ่านเกณฑ์ จปฐ.ข้อ 42)
¨2. การจัดเวทีประชาคม มีตัวแทนคนในครัวเรือนเข้าร่วมเวทีร้อยละ  70  ของครัวเรือนในหมู่บ้าน/ชุมชน
1. หมู่บ้าน/ชุมชน
2. หมู่บ้าน/ชุมชน

¨ผ่าน 2 ข้อ
¨ไม่ผ่าน

ตัวชี้วัดที่
เกณฑ์การประเมิน
หน่วยการประเมิน
ผลการประเมิน
««
5. มีคุณธรรม/จริยธรรม
 หมู่บ้าน/ชุมชนยึดมั่นในคุณธรรม/จริยธรรมอันดีงาม ซึ่งคนในหมู่บ้าน/ชุมชนประพฤติตนและปฏิบัติร่วมกันในการดำรงชีวิต

¨1. คนในหมู่บ้าน/ชุมชนปฏิบัติศาสนากิจอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน  (ทั้งหมู่บ้าน)
อย่างน้อยปีละ 3-4 ครั้ง
¨2. คนในหมู่บ้าน/ชุมชนปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีและมารยาทไทย
¨3. มีกิจกรรมประกาศเกียรติคุณบุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดีต่อคนในหมู่บ้าน
¨4. มีการแบ่งปัน ช่วยเหลือ เกื้อกูล ยกย่องให้เกียรติ
¨5. หมู่บ้าน/ชุมชน สามารถจัดการความขัดแย้งได้
1. หมู่บ้าน/ชุมชน
2. หมู่บ้าน/ชุมชน
3. หมู่บ้าน/ชุมชน
4. ครัวเรือน
5. หมู่บ้าน/ชุมชน
¨ผ่าน 3 ข้อ
¨ไม่ผ่าน






6.มีคนในหมู่บ้าน ชุมชนปลอดอบายมุข
คนในหมู่บ้าน/ชุมชนปฏิบัติตนเพื่อลดละ เลิกอบายมุข โดยวิธีการต่างๆ หรือไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุขเลย


¨1. หมู่บ้าน/ชุมชนปลอดยาเสพติดในรอบปีที่ผ่านมา ร้อยละ 100
¨2หมู่บ้าน/ชุมชนมีกระบวนการส่งเสริมการ ลด ละเลิก อบายมุข อย่างน้อย 1 กิจกรรม  ในรอบ 1ปีที่ผ่านมา
¨3. คนในหมู่บ้าน/ชุมชนไม่ติดสุรา ผ่านเกณฑ์ จปฐ.ข้อ 32 ร้อยละ 100
¨4. คนในหมู่บ้าน/ชุมชนไม่สูบบุหรี่  ร้อยละ 90 (ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ข้อ 33)
¨5. คนในหมู่บ้าน/ชุมชนไม่ติดการพนัน 100 %
¨6. ครอบครัวอบอุ่น ในรอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนนี้มีโอกาสอยู่พร้อมหน้ากัน      มีความเคารพ นับถือซึ่งกันและกัน มีการปรึกษาหารือ สมาชิกในครัวเรือนไม่เคยหนีออกจากบ้าน คนอยู่คนเดียวมีความสุข ซึ่งมีลักษณะเป็นครอบครัวอบอุ่น ร้อยละ 100 หรือตามเกณฑ์ จปฐ. ข้อ 21)
หมู่บ้าน/ชุมชน



¨ผ่าน  3 ข้อ (ต้องผ่านข้อ 1,2 และข้ออื่นอีก 1 ข้อ)
¨ไม่ผ่าน

7. มีความเชื่อมั่นในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หมู่บ้าน/ชุมชนเรียนรู้ เข้าใจ และ
นำหลักการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต
¨1. หมู่บ้าน/ชุมชน นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้  อย่างน้อย  6 ครั้ง
¨2. ครัวเรือนหลักนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ อย่างน้อย ร้อยละ 70 ของครัวเรือนในหมู่บ้าน
หมู่บ้าน/ชุมชน

¨ผ่าน  2 ข้อ
¨ไม่ผ่าน




ตัวชี้วัดที่
เกณฑ์การประเมิน
หน่วยการประเมิน
ผลการประเมิน
2. ด้านเศรษฐกิจ  5 ตัวชี้วัด
«
8.มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน
 คนในครัวเรือนมีการจัดทำบัญชี รายรับ –รายจ่าย ของครัวเรือนเป็นประจำ
¨มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือนเป็นประจำ ร้อยละ 50  ของครัวเรือนในชุมชน
ครัวเรือน

¨ ผ่าน
¨ ไม่ผ่าน

««
9. มีกิจกรรมลดรายจ่ายและสร้างรายได้
คนในหมู่บ้านมีการทำกิจกรรมเพื่อ
ลดรายจ่ายในชีวิตประจำวัน และสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากกิจกรรมดังกล่าวได้ 
¨ครัวเรือนมีการผลิตและการอุปโภค/บริโภค เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน
ร้อยละ  75  ของครัวเรือนในชุมชน
(ปลูกทุกอย่างที่กิน   กินทุกอย่างที่ปลูก  ใช้ทุกอย่างที่ทำ  ทำทุกอย่างที่ใช้)     
ครัวเรือน


¨ผ่าน
¨ไม่ผ่าน

«
10 มีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพหลักของหมู่บ้าน
คนในหมู่บ้านมีการเรียนรู้ ปรับปรุง
และพัฒนาการประกอบอาชีพร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งในด้านการผลิต การตลาด การจัดการ และเงินทุน เพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้น  
¨1. คนในครัวเรือนร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มต่างๆ ในหมู่บ้าน/ชุมชนผ่านเกณฑ์ จปฐ. ข้อ 38 ร้อยละ 95 
¨2. กลุ่ม/องค์กรในหมู่บ้าน/ชุมชน มีการพัฒนาทักษะด้านการประกอบอาชีพ และมีกระบวนการจัดการองค์ความรู้
1. ครัวเรือน
2. หมู่บ้าน/ชุมชน


¨ผ่าน 2 ข้อ
¨ไม่ผ่าน

««
11มีกิจกรรมการออมที่หลากหลาย
หมู่บ้านมีการส่งเสริมให้คนในหมู่บ้านเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ต่างๆ และ/หรือส่งเสริมกลุ่มออมทรัพย์ต่างๆ พัฒนารูปแบบการออมเงินให้หลากหลาย (กลุ่มออมสัจจะ กองทุนหมู่บ้าน เยาวชน)เพื่อนำไปลงทุน


¨1. ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน ร้อยละ 80 ของครัวเรือนทั้งหมด (ผ่านเกณฑ์ จปฐ.ข้อ 31)
¨2. หมู่บ้าน/ชุมชนมีกลุ่มออมทรัพย์ และ/หรือกองทุนการเงินอื่น ๆ  อย่างน้อย   จำนวน  3 กลุ่ม
¨3.ครัวเรือนมีการออมเงินที่ในรูปแบบอื่น ๆ  เช่น ออมวันละ 1 บาท  ฯลฯ
1. ครัวเรือน
2. หมู่บ้าน/ชุมชน
3. ครัวเรือน
¨ผ่าน 2 ข้อ
(ต้องผ่านข้อ 1)
¨ไม่ผ่าน



ตัวชี้วัดที่
เกณฑ์การประเมิน
หน่วยการประเมิน
ผลการประเมิน
12.มีการดำเนินงานในรูปแบบวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มที่มีการดำเนินงานในลักษณะเดียวกับรูปแบบวิสาหกิจชุมชน
หมู่บ้านมีการจัดตั้งและบริหาร
จัดการกลุ่มในรูปแบบวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มที่มีการดำเนินงานในลักษณะเดียวกับรูปแบบวิสาหกิจชุมชน

¨1. หมู่บ้าน/ชุมชนมีจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มที่มีการดำเนินงานในลักษณะเดียวกับรูปแบบวิสาหกิจชุมชนที่จัดตั้งขึ้นในหมู่บ้าน/ชุมชน อย่างน้อย 1 กลุ่ม
¨2. กลุ่มตามข้อ 1 มีกิจกรรมให้บริการและสร้างรายได้หรือลดรายจ่ายแก่สมาชิก อย่างน้อย 1 กิจกรรม  เน้นการผลิตเพื่อการบริโภคอย่างเพียงพอภายในชุมชน และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน (เช่น โรงสีชุมชนร้านค้าชุมชน ปั้มน้ำมัน ฯลฯ)
1. หมู่บ้าน/ชุมชน
2. หมู่บ้าน/ชุมชน

¨ผ่าน 2 ข้อ
¨ไม่ผ่าน

3 ด้านการเรียนรู้ประกอบด้วย  7 ตัวชี้วัด
«
13. มีข้อมูลของชุมชน
มีกระบวนการจัดเก็บ รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ   ของชุมชน

¨หมู่บ้าน/ชุมชนมีกระบวนการจัดเก็บ รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ของหมู่บ้าน/ชุมชน ครบทุกขั้นตอน ดังนี้
 - มีการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจ ฯ 
 - จัดเก็บโดยอาสาสมัคร
 - บันทึก/ประมวลผล
 - การประชาคม เพื่อรับรองผล
 - จัดทำสำเนาข้อมูลเก็บไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ของหมู่บ้าน/ชุมชน
หมู่บ้าน/ชุมชน

¨ผ่านทุกขั้นตอน
¨ไม่ผ่าน


ôôตัวชี้วัดที่ 14 หมู่บ้านหรือชุมชน มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและแผนชุมชน

¨1.หมู่บ้าน/ชุมชนมีการนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจเพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน เช่น การจัดทำแผนชุมชนแผนการพัฒนากลุ่ม/องค์กร 
¨2.หมู่บ้าน/ชุมชน สามารถนำกิจกรรมในแผนชุมชนไปปฏิบัติจริงอย่างน้อย ร้อยละ 30 ของแผนชุมชน
1. หมู่บ้าน/ชุมชน
2. หมู่บ้าน/ชุมชน

¨ผ่าน 2 ข้อ
¨ไม่ผ่าน

15.มีการค้นหาและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างคุณค่า
หมู่บ้านมีกระบวนการสืบค้น รวบรวม จัดหมวดหมู่ และเรียนรู้จากความรู้หรือภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีอยู่ในท้องถิ่น และใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มคุณค่าหรือมูลค่า
¨หมู่บ้าน/ชุมชนมีกระบวนการ สืบค้น รวบรวม จัดหมวดหมู่ และเรียนรู้จากความรู้หรือภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีอยู่ในท้องถิ่น และใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มคุณค่าหรือมูลค่า
 - มีการจดบันทึกภูมิปัญญาท้องถิ่น
 - มีการรวบรวมและแยกหมวดหมู่
 - มีกิจกรรมสืบทอดและถ่ายทอด  ภูมิปัญญาท้องถิ่น
 - นำภูมิปัญญามาประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรม อย่างน้อย 1 กิจกรรม
หมู่บ้าน/ชุมชน

¨ผ่านทุกขั้นตอน
¨ไม่ผ่าน
ตัวชี้วัดที่
เกณฑ์การประเมิน
หน่วยการประเมิน
ผลการประเมิน
«
16.มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชน
หมู่บ้านมีการจัดสถานที่สำหรับเป็นศูนย์เรียนรู้ให้คนในและนอกหมู่บ้านได้ค้นคว้าหาความรู้ เรียนรู้ องค์ความรู้ และใช้ความรู้ในการดำรงชีวิต
¨หมู่บ้าน/ชุมชนมีการจัดสถานที่สำหรับเป็นศูนย์เรียนรู้ และมีการใช้ประโยชน์จากศูนย์เรียนรู้ให้แก่คนในและนอกหมู่บ้าน

หมู่บ้าน/ชุมชน

¨ผ่าน
¨ไม่ผ่าน

«
17.มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน
1. มีกิจกรรม การเรียนรู้  และถ่ายทอดเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ๆ โดยคนในชุมชนหรือนอกชุมชน
2. มีการนำไปใช้อย่างเหมาะสม
และเกิดความคุ้มค่า
¨1. หมู่บ้าน/ชุมชนมีกิจกรรมการเรียนรู้  และถ่ายทอดเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ๆ โดยคนในชุมชนหรือนอกชุมชน
อย่างน้อย จำนวน 4 กิจกรรม
¨2. คนในหมู่บ้านที่ได้เรียนรู้แล้วนำไปใช้อย่างเหมาะสมและเกิดความคุ้มค่า ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของคนที่เรียนรู้

1. หมู่บ้าน/ชุมชน
2. ครัวเรือน

¨ผ่าน 2 ข้อ
¨ไม่ผ่าน

18.มีการสร้างเครือข่ายภาคีการพัฒนา
หมู่บ้านมีกระบวนการเชื่อมโยงเครือข่ายในระดับกลุ่มและ/หรือระดับหมู่บ้านเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร ประสานงานและทำกิจกรรมต่างๆ
¨หมู่บ้าน/ชุมชนมีการเชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้ระดับกลุ่ม/เครือข่าย เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหมู่บ้าน/ชุมชน  หน่วยงาน องค์กร  สถาบันการศึกษา ฯลฯ

หมู่บ้าน/ชุมชน

¨ผ่าน
¨ไม่ผ่าน

««
19. มีการปฏิบัติตามหลักการของการพึ่งตนเอง
คนในหมู่บ้าน คิดเป็น ทำเป็น
แก้ปัญหาเป็น
¨1. หมู่บ้าน/ชุมชน สามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ด้วยตนเอง อย่างน้อย  2 เรื่อง ในรอบปีที่ผ่านมา
¨2. หมู่บ้าน/ชุมชน มีการจัดทำแผนชุมชนโดยกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน



1. หมู่บ้าน/ชุมชน
2. หมู่บ้าน/ชุมชน

¨ผ่าน  2 ข้อ
¨ไม่ผ่าน

ตัวชี้วัดที่
เกณฑ์การประเมิน
หน่วยการประเมิน
ผลการประเมิน
4.ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด
«
20. มีจิตสำนึกของการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หมู่บ้านมีการสร้างจิตสำนึกดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน
¨1. หมู่บ้าน/ชุมชน มีกิจกรรมให้ความรู้   ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
¨2. หมู่บ้าน/ชุมชน  มีการวางแผนการอนุรักษ์ ฯ
หมู่บ้าน/ชุมชน
¨ผ่าน  2 ข้อ
¨ไม่ผ่าน
«
21.มีกลุ่ม/องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม
หมู่บ้านมีกลุ่ม/องค์กรที่คนในหมู่บ้านร่วมกันทำกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย กับกลุ่ม/องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
¨1.หมู่บ้าน/ชุมชน มีการจัดตั้งกลุ่มฯเพื่อการบริหารจัดการ ยึดหลักการมีส่วนร่วม(เช่น กลุ่มผู้ใช้น้ำรักษาน้ำฯ)
¨2. หมู่บ้าน/ชุมชน มีการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร มีการทำกิจกรรมร่วมกัน ฯลฯ)
1. หมู่บ้าน/ชุมชน
2. หมู่บ้าน/ชุมชน
¨ผ่าน 2 ข้อ
¨ไม่ผ่าน
««
22.มีการใช้พลังงานทดแทนที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของชุมชน
หมู่บ้านมีกระบวนการส่งเสริมให้คนในหมู่บ้านเรียนรู้ ทดลอง และเลือกใช้พลังงานทดแทนต่างๆ
ที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสภาพเศรษฐกิจ 
¨1.ครัวเรือนมีกิจกรรมส่งเสริมการลดการใช้พลังงาน  ร้อยละ 25 ของครัวเรือนในหมู่บ้าน/ชุมชน  เช่น การเปลี่ยนหลอดไฟแบบประหยัด การใช้รถจักรยานแทนการใช้รถยนต์  ฯลฯ
¨2. ครัวเรือน มีการผลิตและใช้พลังงานทดแทน ร้อยละ 25 ของครัวเรือนในหมู่บ้าน/ชุมชน (เช่น การทำน้ำมันเชื้อเพลิงจากพืช,สัตว์ หรือน้ำมันที่ผ่านการใช้งานแล้ว(ไบโอดีเซล)   การทำแก๊สหุงต้มจากมูลสัตว์ ฯลฯ)
¨3. หมู่บ้าน/ชุมชน มีกิจกรรมเพื่อการลดการใช้พลังงานและมีการผลิตและใช้พลังงานทดแทน ร่วมกัน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
1. ครัวเรือน
2. ครัวเรือน
3. หมู่บ้าน/ชุมชน

¨ผ่าน 2 ข้อ
¨ไม่ผ่าน

23. มีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หมู่บ้านมีกระบวนการเรียนรู้พัฒนา และจัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน
¨หมู่บ้าน/ชุมชน มีกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   เพื่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน (เช่น หมู่บ้านท่องเที่ยว หัตถกรรม เชิงเกษตร อนุรักษ์ แปรรูปผลิตภัณฑ์   การทำปุ๋ยหมัก  การทำน้ำส้มควันไม้  ฯลฯ)
หมู่บ้าน/ชุมชน

¨ผ่าน
¨ไม่ผ่าน

   
             ผ่าน            ¨   ตัวชี้วัด                           ¨ระดับ “พออยู่ พอกิน”
            ไม่ผ่าน        ¨   ตัวชี้วัด                           ¨ระดับ  ”อยู่ดี กินดี
                                                                              ¨ระดับ  “มั่งมี ศรีสุข”





คำอธิบายรายละเอียดตัวชี้วัด
นิยามความหมาย
          หมู่บ้าน  หมายถึง พื้นที่ที่ประกอบด้วยครัวเรือนของประชากร จัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านตามประกาศของกรมการปกครอง
            ชุมชน หมายถึง เขตพื้นที่ ที่ประกอบด้วยครัวเรือนของประชากรในตามประกาศขององค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น
            ตัวชี้วัดที่  1. หมู่บ้านหรือชุมชน ประชาชนมีความสามัคคีและความร่วมมืออันดีระหว่างกัน
                                    หมายถึง การที่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ด้วยการร่วมกันแสดงความคิดเห็น ตัดสินใจเพื่อการแก้ปัญหาและการพัฒนา แสดงออกถึงพฤติกรรมความร่วมมือ แบ่งเบาภาระการทำงานเพื่อส่วนรวม ปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
             พิจารณาจาก
            1. การเข้าร่วมการประชาคม การประชุมของหมู่บ้านหรือชุมชนเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน  โดยประชาชนผู้ร่วมแสดงความรู้ความสามารถของตนเอง รับฟังข้อมูล คำชี้แจงและเหตุผล จากทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อชุมชน แสดงความคิดเห็นในกระบวนการติดตาม ตรวจสอบ การดำเนินงานการพัฒนาของหมู่บ้านหรือชุมชน ร่วมกับสมาชิกชุมชนอื่นๆ อย่างเต็มใจและเต็มศักยภาพ  ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารหมู่บ้าน จะจัดประชาคมหรือการประชุม ขึ้นเพื่อการปรึกษาหารือ และเรียนรู้ร่วมกันเป็นประจำสม่ำเสมอ เช่น ทุกวันที่ 10 ของทุเดือน และตามวาระสำคัญ เร่งด่วนตามความต้องการ
            2. การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่หมู่บ้านหรือชุมชน จัดขึ้นเพื่อให้มีผลต่อการพัฒนาหรือแก้ปัญหากับส่วนรวม ด้วยความสมัครใจ พร้อมเพรียงกัน โดยการออกแรงงาน เงิน หรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
            ตัวชี้วัดที่  2. หมู่บ้านชุมชนมีข้อตกลงกำหนดเป็นข้อปฏิบัติของหมู่บ้าน
                        หมายถึง การที่หมู่บ้านหรือชุมชน ได้มีการร่วมกันพิจารณา สภาพปัญหา ค่านิยม จารีต ประเพณี วัฒนธรรม ที่สืบทอดต่อกันมาของหมู่บ้านชุมชน จนได้ข้อตกลงกำหนดข้อปฏิบัติ เป็นกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร มีระบบและช่องทางการสื่อสารสร้างความเข้าใจให้ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนรับทราบ เช่น ป้ายประกาศ เอกสารเผยแพร่ ประกาศในที่ประชุม หอกระจายข่าว เสียงตามสาย และประชาชนยอมรับนำไปปฏิบัติอย่างเต็มใจ ในการดำเนินชีวิตร่วมกันในชุมชนก่อให้เกิดความสงบสุข 
            ตัวชี้วัดที่ 3. หมู่บ้านหรือชุมชน มีกองทุนเพื่อสวัสดิการของชุมชนเพื่อให้บริการแก่สมาชิก
                        กลุ่มสวัสดิการ หมายถึง กลุ่มที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระบบการจัดบริการ ทางสังคมซึ่งเกี่ยวกับการป้องกัน การแก้ปัญหา การพัฒนาและการส่งเสริมความมั่งคงทางสังคม เพื่อตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานของประชาชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี พึ่งตนเองได้อย่างทั่วถึง เหมาะสม เป็นธรรม และการมีส่วนร่วม
                        บริการสมาชิก หมายถึง กลุ่มสวัสดิการจัดสิ่งเอื้ออำนวยในชีวิตของสมาชิก ให้สะดวกสบายยิ่งขึ้นเป็นสิ่งตอบแทนต่างๆ รวมถึงบริการและประโยชน์พิเศษที่กลุ่มจัดให้มีขึ้น เพื่อความพอใจและคุณภาพชีวิตที่ดีของสมาชิก หรือรวมทั้งจัดขึ้นเพื่อให้บริการกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในสภาวะยากลำบากหรือที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ เช่น เด็ก เยาวชน คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือผู้ทุพพลภาพ ผู้ด้อยโอกาส หรือกลุ่มบุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด แบ่งสวัสดิการเป็น
                        1. สวัสดิการด้านเศรษฐกิจ หมายถึง สวัสดิการต่างๆ เพื่อช่วยให้ฐานะความเป็นอยู่ของสมาชิกและครอบครัวดีขึ้น ได้แก่ บริการที่พักอาศัย บริการอาหารกลางวัน บริการการรักษาพยาบาล บริการค่าเล่าเรียนบุตร บริการเงินช่วยเหลือบุตร บริการการกู้ยืม และบริการเงินสะสม 
                        2. สวัสดิการด้านสังคม หมายถึง สวัสดิการต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางจิตใจ ความนึกคิด   การเพิ่มพูนความรู้ตลอดจนความสนุกสนานรื่นเริงของสมาชิก เช่น บริการห้องสมุด บริการการศึกษาต่อ และบริการการกีฬาและด้านนันทนาการต่างๆ     
            ตัวชี้วัดที่ 4. หมู่บ้านหรือชุมชนยึดหมั่นในหลักประชาธิปไตย
                        หมายถึง ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนมีความตื่นตัว รู้จักการรักษาหน้าที่ปฏิบัติตามสิทธิ ในฐานะการเป็นพลเมืองของประเทศ ใช้เสรีภาพทางการแสดงออกทางการเมือง มีส่วนร่วมในการบริหารงานของหมู่บ้านหรือชุมชนท้องถิ่น ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น  ให้ข้อมูล รับฟังเหตุผล ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องและหลักการความรู้ ในการร่วมตัดสินใจเพื่อส่วนรวม และยอมรับในความเห็นเหตุผลของส่วนใหญ่  แสดงออกต่อกันของคนในครอบครัวอย่างเคารพและเสมอภาค
                        การพิจารณาให้คะแนนในเกณฑ์การไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ดูที่ ผู้มีอายุ18 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไปที่มีชื่อในทะเบียนบ้านและอาศัยอยู่ประจำในครัวเรือนนี้รวมกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน  ไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งครั้งหลังที่ผ่านมาล่าสุดของการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น ทุกประเภท อย่างใดอย่างหนึ่ง
            ตัวชี้วัดที่  5. หมู่บ้านหรือชุมชน  มีหลักคุณธรรม จริยธรรม ในการดำเนินชีวิตร่วมกัน
                        คุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของประชาชนที่มีอยู่และสามารถนำมาประพฤติปฏิบัติตนเพื่อการบรรลุถึงสภาพชีวิตอันทรงคุณค่า  การปฏิบัติตนต่อกันและกันของประชาชน อาจนำหลักคำสอนทางศาสนามาใช้หรือนำหลักปฏิบัติที่มาจากวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี มาใช้แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท เช่น เมตตา กรุณา เสียสละ ซื่อสัตย์ อดทน  ฯลฯ  เช่น ความเป็นผู้ไม่กล่าวเท็จโดยหวังประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น
                        เกณฑ์การการพิจารณาให้คะแนน
                        1. ดูจากการที่คนในหมู่บ้านหรือชุมชน ได้แสดงออกถึงความศรัทธาในหลักปฏิบัติของศาสนา เข้าร่วมในกิจกรรมเพื่อการก่อเกิดความเข้าใจในคำสอนของศาสนา สร้างความเชื่อและศรัทธาเพื่อกล่อมเกลาจิตใจให้เหมาะสมกับค่านินมของสังคม เช่น การเข้าร่วมในกิจกรรมทางศาสนาที่ชุมชนจัดขึ้น หรือกิจกรรมตามวันสำคัญทางศาสนา เป็นประจำ
                        2. คนในชุมชนปฏิบัติต่อกันด้วยหลักมนุษยสัมพันธ์ เคารพยกย่อง ให้เกียรติ แสดงออกด้วยท่าทีตามวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นหรือตามมารยาทไทย เช่นการไหว้ ขอโทษ ขอบคุณและอื่นๆ  ช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปัน ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันทั้งชุมชน
            3. การเสริมแรงให้กับบุคคลที่ทำความดีกระทำตนเป็นแบบอย่างเพื่อสังคม การจัดกิจกรรมเพื่อแสดงการยกย่องเชิดชู เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณให้ทราบและยอมรับโดยทั่วไป เพื่อใช้เป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติของบุคคลอื่นในหมู่บ้านหรือชุมชนต่อไป เช่น การมอบเกียรติบัตร เกียรติคุณ ให้เป็นกรณีพิเศษ หรือจัดเป็นกิจกรรมบุคคลดีเด่นแห่งปีของชุมชน เป็นต้น
                        4. เมื่อมีเหตุการณ์ที่เกิดความขัดแย้งขึ้นในชุมชน ชุมชนมีวิธีการในการบริหารจัดการจนสามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยชุมชนเองบนพื้นฐานความสัมพันธ์อย่างกลมเกลียว เช่น การใช้ผู้อาวุโสในหมู่บ้านเป็นผู้ไกล่เกลี่ย
            ตัวชี้วัดที่ 6 คนในครอบครัวมีความอบอุ่น ชุมชนมีความปลอดภัย
                        คนในครอบครัวอบอุ่น หมายถึง ความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้านหรือชุมชน มีลักษณะได้มีโอกาสอยู่พร้อมหน้ากัน (พ่อ แม่ ลูก หรือญาติ พี่น้องที่อาศัยอยู่ประจำในบ้านเดียวกัน ได้ทำกิจกรรมภายในครัวเรือนด้วยกัน เช่น รับประทานอาหาร พูดคุย เล่นกีฬา ปรับปรุงที่อยู่อาศัย ปลูกพืชผักสวนครัว และอื่นๆ ) เป็นประจำ อย่างน้อย 6 ครั้งต่อปี คนในครัวเรือนให้การเคารพต่อกัน ปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหาในครัวเรือน คนในครัวเรือไม่หนีออกจากบ้าน กรณีที่มีผู้อยู่คนเดียวถ้าดำรงชีวิตอย่างมีความสุข หรือได้รับการดูแลให้มีความสุขจึงถือว่าเป็นครัวเรือนอบอุ่น หรือผ่านเกณฑ์ จปฐ.ข้อ 21
                        ชุมชนมีความปลอดภัย หมายถึง หมู่บ้านหรือชุมชนมีภูมคุ้มกันในการป้องกันภัย        ด้วยกิจกรรมต่างๆ ตามที่ชุมชนเห็นสมควร เพื่อทำให้หมู่บ้านหรือขุมชนปลอดสารเสพติด  ไม่มีผู้ค้า ผู้เสพได้รับการรักษา ผู้ได้รับการรักษาแล้วไม่กลับไปใช้สารเสพติดอีก  รวมทั้ง หมู่บ้านหรือชุมชน มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริม สนับสนุน การลดละ เลิก อบายมุข เพื่อให้คนในชุมชน ไม่ติดสุรา(ต้องดื่มทุกวัน ขาดไม่ได้ และต้องการในปริมาณเพิ่มขึ้นหรือเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังปรากฏ เช่น อาการมือสั่น จปฐ.ข้อ 32) ไม่สูบบุหรี่ (จปฐ.ข้อ 33) ไม่ติดการพนัน คือ คนในชุมชน รู้และเข้าใจ ตระหนักในโทษที่เกิดจากการเล่นการพนันและไม่มีพฤติกรรมเล่นการพนันจนเป็นนิสัยทำให้เสียทรัพย์ เป็นหนี้สินเกิดความเดือดร้อนต่อตนเองและครอบครัว
            ตัวชี้วัดที่ 7 คนในชุมชนมีความเชื่อมั่นในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                        หมายถึง คนในหมู่บ้านหรือชุมชนได้รับการเรียนรู้ มีความเข้าใจ ยอมรับและนำหลักการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิต
                        หมู่บ้านหรือชุมชน จัดให้มีกิจกรรมในการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และการยอมรับในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน ในรูปแบบต่างๆ เช่น การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การถ่ายทอดความรู้โดยนำวิทยากรหรือผู้ที่มีประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  การเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆในชุมชน การจัดการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับการสาระและการปฏิบัติตนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  การสาธิตกิจกรรมต่างๆ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างพอประมาณ เพื่อการพึ่งตนเอง 
                       

                        ในระดับครัวเรือน นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียงไปปรับใช้ในครัวเรือน  ด้วยการทำกิจกรรมต่อไปนี้  ครบทุกกิจกรรม
                        1.กิจกรรมลดรายจ่าย  เช่น การทำของใช้เพื่อใช้เอง  ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน  กิจกรรมตรวจสอบการใช้จ่ายประจำวัน และลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะกับอบายมุข
                        2. กิจกรรมเพิ่มรายได้  เช่น การแปรรูป  พัฒนาผลิตภัณฑ์  กิจกรรมเสริมรายได้ลดต้นทุนการผลิตในกิจกรรมของครัวเรือน เลือกใช้วิชาการ เครื่องมือที่สามารถเรียนรู้ ใช้งานได้เหมาะสมกับกิจกรรมและไม่กระทบกับฐานะทางเศรษฐกิจ สำหรับช่วยในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างผลผลิตและผ่อนแรง
                        3. กิจกรรมการประหยัด มีการแบ่งรายได้เพื่อการสะสมทุนของครัวเรือน ในรูปแบบต่างๆ หรือสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มกองทุนต่างๆ ของชุมชน
                        4. กิจกรรมการเรียนรู้ การทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ ความเชี่ยวชาญในงานการอาชีพที่ทำประจำวัน  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครัวเรือนที่มีกิจกรรม อาชีพคล้ายกัน เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาและเพิ่มประสิทธิภาพ  รวมถึงการเรียนรู้ปรัชญา  ความเป็นมา ค่านิยม ธรรมเนียมของชุมชน
                        5. กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ด้วยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในบริเวณบ้านให้สะอาด เรียบร้อยป้องกันการเกิดโรคระบาด  ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับหรือ พืชพันธุ์ไม้ที่ครัวเรือนต้องการ  อย่างร่มรื่นสวยงามได้รับประโยชน์ การดัดแปลงวัสดุ วัตถุดิบทางธรรมชาติ เพื่อใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่  รวมทั้งเข้าร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาสิ่งแวดล้อมของชุมชน ที่เป็นกิจกรรมของส่วนรวมอยู่เสมอ             
                        6. การแบ่งปัน เอื้ออารี  ทั้งกับคนในครัวเรือนและเพื่อนบ้าน  สละสิ่งของแบ่งปัน ของเหลือกินเหลือใช้  สละแรงงาน ความรู้ ความสามารถช่วยเหลืองานของกันและกัน  โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทน
            ตัวชี้วัดที่ 8  ครัวเรือนมีการจัดทำบัญชีครัวเรือน
                        หมายถึง การบันทึก รายการและจำนวนเงินส่วนที่เป็นรายรับ และรายการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในครัวเรือน หรือเป็นของบุคคล เป็นประจำไม่ว่าจะเป็นการจดบันทึกเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน พร้อมทั้งสรุปผลเพื่อเป็นสถิติเปรียบเทียบ เพื่อใช้ในการพิจารณาถึงงบดุลของครัวเรือน  พฤติกรรมการใช้จ่ายที่เป็นภัยต่อการดำเนินชีวิต เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผน กำหนดแนวทางการใช้จ่ายของครอบครัวอย่างพอประมาณ และสามารถนำข้อมูลจากทุกครัวเรือนมาสรุปผลเป็นภาพรวมของชุมชนเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำ และปรับปรุงแผนชุมชนเพื่อการพัฒนาและแก้ปัญหาของชุมชนได้ด้วย
            ตัวชี้วัดที่ 9  หมู่บ้านหรือชุมชนมีกิจกรรมลดรายจ่ายและสร้างรายได้
                        หมายถึง  ครัวเรือนในหมู่บ้านหรือชุมชน มีกิจกรรมเพื่อการลดรายจ่าย ในชีวิตประจำวัน เช่น การดัดแปลงการผลิตของกิน ของใช้ หรือเลือกใช้สิ่งของที่มีอยู่ในครัวเรือนมาใช้ทดแทน หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นการทำให้รายจ่ายลดลง รวมถึงการนำของเหลือกิน เหลือใช้ มาแปรรูป ดัดแปลง แต่งเติมเพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างราคา สามารถจำหน่ายเป็นรายได้เสริมของครอบครัวได้
            ตัวชี้วัดที่ 10 หมู่บ้านหรือชุมชน มีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพหลักของหมู่บ้าน
                        อาชีพหลัก หมายถึง หมู่บ้านหรือชุมชนประกอบอาชีพใดใด ที่ทำรายได้ให้แก่ครัวเรือนของประชาชนสูงสุดหรือเป็นอาชีพที่ประชาชนใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำงานในรอบปีที่แล้วมากกว่าอาชีพอื่น  เช่น การปลูกไม้ผลเพื่อการค้า หมายถึง การทำสวนไม้ผลเป็นอาชีพหลัก และปลูกปริมาณมากเพื่อจำหน่ายผลผลิตเป็นรายได้หลัก เช่น การทำสวนส้ม ลิ้นจี่ ลำไยและมะขาม เป็นต้น
                        กลุ่มหรือองค์กร หมายถึง คนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีการกระทำต่อกันหรือมีการพบปะสังสรรค์กันและมีความรู้สึกผูกพันรวมกันมีโครงสร้างมีการจัดลำดับตำแหน่งหรือสถานภาพของสมาชิกอื่นในกลุ่มมีความสัมพันธ์ กันหรือการติดต่อระหว่างกันมีบรรทัดฐานหรือกฎระเบียบ ของการประพฤติปฏิบัติ มีค่านิยม ทัศนคติ บางอย่างร่วมกันมีกิจกรรมที่มีขึ้นเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของกลุ่มและคงความสัมพันธ์และดำเนินกิจกรรมร่วมกันในช่วงเวลาหนึ่ง
                        การรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพหลัก คือการที่ชุมชนจัดให้มีการรวมกลุ่มประชาชนในชุมชนที่มีอาชีพหลัก เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาระบบการผลิต การเอื้ออำนวยปัจจัยการผลิต โดยมีผลต่อประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพหลักเช่น การรวมกลุ่มกันผลิตน้ำตาลจากมะพร้าวโดยประชาชนส่วนใหญ่ มีอาชีพทำสวนมะพร้าว และใช้กลุ่มเป็นศูนย์กลางในการร่วมผลิต ใช้อุปกรณ์ ใช้แรงงานร่วมกันช่วยกัน คิดหาวิธีการในการลดต้นทุน และเพิ่มคุณภาพ พร้อมทั้งรวมกันขายเพื่อการประกันราคา และเป็นการถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาเพื่อการสืบทอดอาชีพหลักของชุมชนสู่คนรุ่นหลังด้วย
                        ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน จะได้ประโยชน์ก็ต่อเมื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกลุ่มต่างๆ และกลุ่มได้จัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาทักษะ ฝีมือ ความรู้หรือส่งเสริมการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ในการประกอบอาชีพแก่สมาชิก เช่นการฝึกสอนทักษะอาชีพ การแข่งขันการดัดแปลงผลผลิต ฯลฯ
            ตัวชี้วัดที่ 11 หมู่บ้านหรือชุมชน มีการออมที่มีหลายรูปแบบ
                        การออม หมายถึง การประหยัด การเก็บหอมรอมริบ การถนอม และการสงวน สิ่งที่จะประหยัดหรือเก็บหอมรอมริบ ได้แก่ ทรัพย์สินเงินทอง การใช้สิ่งมีค่ามีคุณทั้งหลายอย่างระมัดระวัง อย่างไม่ประมาท อย่างมีเหตุมีผล ทั้งในตนและนอกตน การออมมิได้มุ่งที่ออมเงินอย่างเดียว แต่หมายถึง การออมชีวิตตนเอง และปัจจัยในการดำรงชีพทุกอย่าง การออมจะเกิดได้ก็เพราะคนได้รับการศึกษาเรียนรู้          ให้ความสำคัญ ความจำเป็น และได้รับผลหรือคุณประโยชน์ที่เกิดจากการออม เมื่อเวลาผ่านไป เกิดการคิดได้ ทำได้เอง และสอนผู้อื่นต่อไป การออมจึงเป็นเรื่องของการศึกษา การพัฒนาชีวิตของคนลักษณะหนึ่ง คือ การฝึกให้รู้ ให้คิด และให้ทำในสิ่งดีมีประโยชน์  นอกจากการออมเงิน แล้วยังรวมถึง การออมทรัพยากรธรรมชาติมีป่าไม้ แหล่งน้ำ แหล่งดิน เพื่อใช้เป็นแหล่งบำรุงรักษาชีวิตของคนในชุมชนด้วย
                        ดังนั้นการออม จึงเป็นการกระทำของประชาชนในชุมชน ในการจัดการกับรายได้ที่เมื่อหักรายจ่ายแล้วจะมีส่วนซึ่งเหลืออยู่ และนำส่วนของรายได้ที่เหลืออยู่ซึ่งไม่ได้ถูกใช้สอยไปเก็บไว้ในรูปแบบ สถานที่ต่างๆ เช่น กระปุกออมสิน สลากออมสิน ฝากธนาคาร กรมทันธ์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต สหกรณ์ กองทุนทางการเงินต่างๆ หรือรูปแบบอื่นที่เป็นการออมเงิน ฯลฯ  หรือชุมชนมีกิจกรรมอื่นๆที่เป็นการจัดเป็นสวัสดิการระยะยาว เช่น ครัวเรือนต้องปลูกต้นไม้เมื่อมีเด็กเกิดใหม่ จำนวนหนึ่งในป่าส่วนกลาง โดยครัวเรือนสามารถนำไม่ในป่ามาใช้งานได้ก็ต่อเมื่อเด็กคนนั้นอายุครบ 20 ปี เมื่อแต่งงานต้องการจะสร้างบ้านแยกครอบครัวใหม่ ในจำนวนที่ตกลงกันซึ่งอาจน้อยกว่าจำนวนที่ปลูก เป็นการออมป่าไว้ใช้ประโยชน์จากไม้ เป็นต้น
           
            ตัวชี้วัดที่ 12 หมู่บ้านหรือชุมชนมีการดำเนินการสร้างรายได้ในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน
                        วิสาหกิจชุมชน หมายถึง การประกอบกิจการด้วยหลักสามัคคีธรรมของชุมชน โดยชุมชนในการผลิตสินค้า การให้บริการและอื่น ๆ เพื่อการเรียนรู้ การพึ่งตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน ด้วยการนำทุนของชุมชนมาดำเนินการเพื่อสร้างรายได้ โดยใช้รูปแบบการจัดการที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบใดหรือไม่เป็นนิติบุคคล ก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เป็นกิจกรรมของชุมชนที่สร้างรายได้ให้กับสมาชิกในชุมชน
            ตัวชี้วัดที่ 13 หมู่บ้านมีระบบฐานข้อมูลชุมชน
                        หมายถึง ชุมชนมีข้อมูลที่ดี และระบบการนำมาใช้โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงเพื่อใช้ประโยชน์ได้ ควรเป็นข้อมูลที่มีคุณลักษณะดังนี้   ข้อมูลที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ (accuracy)  ข้อมูลตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (relevancy) ข้อมูลมีความทันสมัย (timeliness) ทั้งนี้การจะได้ข้อมูลที่ดีมาใช้งานในชุมชนนั้นขึ้นกับวิธีการที่ใช้ในการควบคุมข้อมูลนำเข้าคือการสร้างแบบสำรวจ การจัดเก็บ การรวบรวมข้อมูล ทันเวลาเพื่อการใช้งานข้อมูลที่ทันสมัยและการควบคุมการประมวลผล คือ การคำนวณ ประมวลผล   การวิเคราะห์ จำแนกแยกกลุ่ม  การควบคุมข้อมูลนำเข้าและการควบคุมการประมวลผล เป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าข้อมูลนำเข้ามีความถูกต้อง เป็นข้อมูลที่ทันสมัย ได้ซึ่งจะมีผลต่อการประมวลผลได้น่าเชื่อถือด้วย เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำเอาผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ ใช้โดยทั่วๆ ไป ทุกพื้นที่ ข้อมูลของหน่วยงาน เช่น จปฐ. กชช 2 ค  บัญชีรับ – จ่ายครัวเรือน   ข้อมูลด้านการเกษตร ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ การตลาด หรืออาจเป็นข้อมูลที่หมู่บ้านหรือชุมชนจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์
                        ดังนั้น การดำเนินงานของหมู่บ้านหรือชุมชนจึงพิจารณาถึงระบบการจัดเก็บ ต้องทำทุกขั้นตอน โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1. การเตรียมการ มีการประชุมสร้างความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องให้เกิดความเข้าใจตรงกันในเนื้อหาของแบบสำรวจ รูปแบบ วิธีการจัดเก็บ  บทบาทของอาสาสมัครผู้จัดเก็บ สำรวจข้อมูล 
                        2. การจัดเก็บ เพื่อสร้างการมีส่วนรวมและแบ่งงานกันทำ พร้อมทั้งช่วยตรวจสอบข้อมูลไปพร้อมกันจึงควรเป็นอาสาสมัครในชุมชน
3. การคำนวณและประมวลผล รูปแบบที่คนในชุมชนสามารถเข้าใจและมีส่วนร่วมได้หรือการใช้เครื่องมืออิเลคทรอนิคส์ช่วย
                        4. การประชาคมเพื่อรับรองผล เป็นการนำเสนอข้อมูลที่สำรวจ และประมวลผลได้ มาแจ้งให้กับประชาชนในชุมชนทราบเพื่อตรวจสอบ รับรองผล และเป็นการรับรู้ถึงสภาพของชุมชนร่วมกัน เป็นจุดเริ่มในการเรียนรู้ศักยภาพของชุมชนไปใช้แก้ปัญหาพัฒนาต่อไป
5.บันทึกจัดเก็บข้อมูลเพื่อพร้อมสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ และจัดทำสำเนาข้อมูลจัดเก็บไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ของหมู่บ้านหรือชุมชน



            ตัวชี้วัดที่ 14 หมู่บ้านหรือชุมชน มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและแผนชุมชน
                        การใช้ประโยชน์จากข้อมูลและแผนชุมชน หมายถึง การบริหารจัดการของหมู่บ้านหรือชุมชน บนพื้นฐานความรู้และการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ โดยการจัดการประชุมประชาคมในหมู่บ้านหรือชุมชน  แล้วนำข้อมูลของจากระบบฐานข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ คาดหมายเหตุการณ์ เพื่อการคิดตัดสินใจกำหนดเป็นเป้าหมายทิศทาง เลือกแนวทาง วิธีการแก้ไขปัญหาและการพัฒนา ทั้งนี้ ข้อมูลสามารถใช้ในการร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาชุมชน ใช้ทำแผนพัฒนากลุ่มและองค์กรที่มีอยู่ในชุมชน หรือเครือข่ายของชุมชน  พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการกิจกรรมในแผนชุมชน ด้วยรับผิดชอบการบริหารจัดการกิจกรรมจากแผนให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริง อาจแบ่งงานกันรับผิดชอบในการประสานหาความสนับสนุนในรูปแบต่างๆ จนกิจกรรมดำเนินไปได้
            ตัวชี้วัดที่ 15  หมู่บ้านหรือชุมชนมีการค้นหาและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                        ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นองค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลในท้องถิ่น รวมถึงงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                         ภูมิปัญญาประเภทองค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลท้องถิ่น เช่น การผลิตอาหารและเครื่องดื่ม การผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร การผลิตผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ และการผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ หิน โลหะ แก้ว เซรามิค ดินเผา เครื่องหนัง เป็นต้น
                        ภูมิปัญญาประเภทงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น เรื่องเล่าพื้นบ้าน กวีนิพนธ์พื้นบ้าน ปริศนาพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้าน การฟ้อนรำพื้นบ้าน ละครพื้นบ้าน จิตรกรรมพื้นบ้าน ประติมากรรมพื้นบ้าน หัตถกรรมพื้นบ้าน เครื่องแต่งกายพื้นบ้าน และสิ่งทอพื้นบ้าน เป็นต้น 
                        หมู่บ้านชุมชนต้องจัดกระบวนการดังนี้ ทุกขั้นตอน ค้นหา สืบค้น จดบันทึก รวบรวมความรู้ ภูมิปัญญา จัดเป็นหมวดหมู่ กิจกรรมการเพื่อการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อถ่ายทอดและสืบทอด การพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาของชุมชน ปรับปรุงให้เกิดความเข้าใจงาน สามารถนำไปปรับประยุกต์ให้งานเพื่อเพิ่มคุณค่าหรือเพิ่มมูลค่า เช่น การถ่ายทอดการจักสารไม้ไผ่ ให้กับเยาวชน แล้วสามารถ ปรับปรุงรูปแบบ เป็นเครื่องใช้ ชนิดอื่นๆ เช่น โคมไฟ แจกัน หรือการเผยแพร่วิธีใช้พืชสมุนไพร นำไปสู่การปรับปรุง ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ รูปแบบต่างๆ เช่น เป็นเจล เป็นของเหลว เป็นเคปซูล เพื่อใช้สะดวก มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือมีการบันทึกภูมิปัญญาเป็นชุดความรู้เก็บไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ฯลฯ
            ตัวชี้วัดที่ 16 หมู่บ้านหรือชุมชนมีการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้
                        แหล่งเรียนรู้ หมายถึง สถานที่ที่เหมาะสมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับผู้ที่มีประสบการณ์ ความรู้ มีความชำนาญ ภูมิปัญญาเฉพาะด้าน อาจเป็นบ้านพัก พื้นที่ปฏิบัติงาน สวน ไร่ นา  แปลงทดลอง ลานกลางบ้าน เป็นต้น
                        ศูนย์เรียนรู้ หมายถึง สถานที่ที่ชุมชนใช้เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ของชุมชน เพื่อสร้างโอกาสและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับประชาชนในชุมชน การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม ค่านิยมและเอกลักษณ์ของชุมชน  อีกทั้งเป็นแหล่งบริการชุมชนด้านต่าง ๆ เช่น การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการเรียนรู้ของชุมชน โดยเน้นการสร้างนิสัยการเรียนรู้เพื่อวิถีชีวิต ดำเนินการโดยประชาชนเพื่อประชาชน หวังผลการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง ก่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน
                        ชุมชนที่เป็นแหล่งเรียนรู้ หมายถึง ชุมชนมีกิจกรรมที่เป็นความรู้ มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกิดการเรียนรู้ในชุมชนเป็นประจำ สามารถถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ ตัวอย่าง ตัวแบบ ในด้านกระบวนการพัฒนา การบริหารจัดการ วิธีการทำงานที่ประสบผลสำเร็จเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                        ดังนั้นเพื่อการสร้างภูมิคุ้มกันกับประชาชนในการคาดหมายเหตุการณ์ด้วยความรู้ หมู่บ้านมีการจัดสถานที่สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ให้คนในและคนนอกหมู่บ้านได้ค้นคว้าหาความรู้ เรียนรู้ องค์ความรู้และใช้ความรู้ในการดำรงชีวิต
และเป็นแบบอย่างในการขยายความรู้สู่สังคมภายนอก หมู่บ้านหรือชุมชนมีการจัดสถานที่สำหรับเป็นศูนย์เรียนรู้ และมีการใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ให้แก่คนในและนอกหมู่บ้าน
          ตัวชี้วัดที่ 17  หมู่บ้านหรือชุมชนมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับศักยภาพของหมู่บ้านหรือชุมชน
                      เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ อาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจักรกล อุตสาหกรรม การเกษตร เครื่องใช้สำหรับการทำให้การประกอบอาชีพง่ายขึ้น
                      การเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ๆ โดยคนในชุมชนหรือนอกชุมชน คือการจัดกิจกรรมเพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ในการปรับประยุกต์ ใช้งานหรือสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ หรือเรียนรู้ร่วมกันในการทดลองใช้ความรู้ใหม่หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ดัดแปลงเพื่อใช้ให้เหมาะกับงานประจำ ซึ่งอาจเป็นการฝึกอบรม การจัดการประชุมเฉพาะด้าน การถ่ายทอดความรู้ผ่านช่องทางต่างๆในชุมชน กิจกรรมการสาธิต การเรียนรู้จากเครือข่ายทั้งในและนอกชุมชน เป็นต้น
                      เทคโนโลยีที่เหมาะสม จะต้องไม่เป็นต้นทุนที่สูงเกินความสามารถของครัวเรือนจะมีไว้ใช้ได้และส่งผลให้เดือดร้อนต่อฐานะทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งนำไปใช้งานอย่างเหมาะสม คือเพื่อการเพิ่มมูลค่าให้กับการประกอบกิจการประจำของครัวเรือนอย่างคุ้มค่า
           ตัวชี้วัดที่ 18 หมู่บ้านหรือชุมชนมีการสร้างเครือข่ายภาคีการพัฒนา
                      เครือข่าย หมายถึง การประสานงานรูปแบบหนึ่งที่โยงใยการทำงานของกลุ่มบุคคลหรือ กลุ่ม องค์กรหลายองค์กร ซึ่งมีทรัพยากร มีเป้าหมาย มีกลุ่มสมาชิกของตนเอง ที่มีความคิด มีปัญหา มีความต้องการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนกันหรือคล้ายกัน มาติดต่อประสานงานแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือร่วมกันทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง มีการจัดระเบียบโครงสร้างของคนในเครือข่ายด้วยความเป็นอิสระ ความสัมพันธ์ของสมาชิกในเครือข่ายต้องเป็นไปโดยสมัครใจ เท่าเทียมกันภายใต้พื้นฐานของความเคารพสิทธิ เชื่อถือ เอื้ออาทร ซึ่งกันและกัน เพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองความต้องการในเรื่องนั้นๆ โดยยึดหลักการทำงานร่วมกันบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน เคารพซึ่งกันและกัน มากกว่าการเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้มีอำนาจสั่งการ การติดต่ออาจทำได้ทั้งที่ผ่านศูนย์กลางแม่ข่ายหรือแกนนำ หรืออาจจะไม่มีแม่ข่ายหรือแกนนำแต่จะทำการติดต่อโดยตรงระหว่างกลุ่ม  ซึ่งจะมีเป็นการจัดโครงสร้างมีรูปแบบที่คนหรือองค์กรสมาชิกยังคงมีความเป็นอิสระโดยที่อาจมีรูปแบบการรวมตัวแบบหลวมๆ เฉพาะกิจ  ตามความจำเป็นหรือเป็นโครงสร้างที่มีความสัมพันธ์ชัดเจนก็ได้
                      การรวมตัวกันของกลุ่ม องค์กร ต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในชุมชนและจากภายนอกชุมชน เพื่อประสานงานและกระตุ้น ให้เกิดการพัฒนางาน อาจโดยวิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การทำกิจกรรมร่วมกัน การขยายกิจกรรม การให้การสนับสนุนด้านวิชาการ เงินลงทุน หรืออื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนากลุ่ม องค์กรในเครือข่าย ให้มีความเข้มแข็ง ทั้งนี้ต้องมีผู้ประสานงาน รับผิดชอบ ร่วมกันของสมาชิกกลุ่ม องค์เครือข่าย และมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม เช่น เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เครือข่ายหมู่บ้าน กข.คจ. เครือข่ายพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                      เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ในการพัฒนาที่รวดเร็วและมีพลังในการทำงานให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างรวดเร็ว  หมู่บ้านหรือชุมชน จึงต้องมีกระบวนการเชื่อมโยงเครือข่ายหน่วยงาน องค์กร สถาบัน ทั้งในระดับกลุ่มและหรือระดับหมู่บ้านเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร ประสานงานและทำกิจกรรมต่างๆ เช่นการประชุมร่วมกัน กิจกรรมเพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์  การอบรมสร้างความรู้ให้กันและกัน การทำกิจกรรมเพื่อการเพิ่มความรู้ความชำนาญร่วมกัน ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ และหลากหลายรูปแบบ
          ตัวชี้วัดที่ 19 หมู่บ้านหรือชุมชนมีการปฏิบัติตามหลักการของการพึ่งตนเอง
                      การพึ่งตนเอง หมายถึง พฤติกรรมของคนในหมู่บ้านหรือชุมชน มีความรู้ ที่จะคิดเป็น มีความสามารถที่ดำเนินชีวิตด้วยกิจกรรมที่ครัวเรือนกระทำได้ด้วยตัวเองอย่างสมดุล พอประมาณ พอดีในชีวิต คือจัดชีวิตให้สอดคล้องกับสิ่งต่างๆ อย่างเหมาะสมทั้งกับคน สังคม สิ่งแวดล้อม ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น เพื่อสร้างกิจกรรมสำหรับความมั่นคงในชีวิตในปัจจุบันและอนาคต ไม่จำเป็นต้องอาศัยคนอื่นมากเกินไป สามารถที่จะคิด ตัดสินใจที่จะกระทำการใดใดเพื่อความสุขของตนเอง ครอบครัว และสังคม อย่างอิสระ หมู่บ้านหรือชุมชนจะส่งเสริมการคิด ได้ ทำเป็น แก้ปัญหาร่วมกันของคนในชุมชน ด้วยการจัดกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้ตนเอง รู้สภาพของชุมชนจากข้อมูลของชุมชนที่คนในชุมชนช่วยกันค้นหา วิเคราะห์ สังเคราะห์ กำหนดเป้าหมาย เลือกกิจกรรมเพื่อการพัฒนา ป้องกันและแก้ปัญหา ร่วมกันของคนทั้งชุมชน ที่ชุมชนคิดและดำเนินการด้วยตนเอง ซึ่งอาจขอรับความรู้ วิธีการจากภายนอกได้ เช่น กระบวนการแผนชุมชน หรือกิจกรรมอื่นที่จะทำให้รู้คิด เกิดการทำงานและแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง
            ตัวชี้วัดที่ 20 หมู่บ้านหรือชุมชนมีจิตสำนึกของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
            ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายความรวมกันทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไปหรือใช้แล้วไม่หมดไปก็ตาม เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ และอื่นๆ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หมู่บ้านหรือชุมชนจะต้องชักชวนสร้างความรู้ สร้างจิตสำนึกรัก เพื่อรักษา และความตระหนักในการมีอยู่และนำมาใช้งานอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน  ด้วยการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่นการอบรม การศึกษาดูงาน การนำผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการจัดการทรัพยาการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาให้ความรู้ กิจกรรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูต่างๆ เช่น การสำรวจพันธุ์ไม้ สมุนไพร ตรวจสภาพพื้นที่  ตรวจคุณภาพแหล่งน้ำ หรือการให้ความรู้ผ่านช่องทางต่างๆ ที่ชุมชนมีและใช้ เช่น หอกระจายข่าว เสียงตามสาย การประชุมประจำเดือน ฯลฯ
ทั้งนี้ หมู่บ้านหรือชุมชนต้องจัดให้มีแผนในการอนุรักษ์ รักษา ฟื้นฟู สภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านหรือชุมชน เพื่อการใช้งานอย่างยั่งยืน
            ตัวชี้วัดที่ 21 หมู่บ้านหรือชุมชนมีกลุ่ม/องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม
            หมู่บ้านหรือชุมชน มีกลุ่มหรือองค์กรที่คนในหมู่บ้านร่วมกันทำกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเชื่อมโยง เป็นเครือข่าย กับกลุ่ม/องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เพื่อการบริหารจัดการยึดหลักการมีส่วนร่วม เช่น กลุ่มผู้ใช้น้ำ รักษาน้ำฯ ป่าชุมชนต้นน้ำ กลุ่มจัดการขยะ กลุ่มอนุรักษ์ดิน เป็นต้น
                      หมู่บ้าน/ชุมชน มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร มีการทำกิจกรรมร่วมกัน ของแต่ละกลุ่มทั้งในและนอกหมู่บ้านหรือชุมชน
          ตัวชี้วัดที่ 22 หมู่บ้านหรือชุมชนมีการใช้พลังงานทดแทนที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของชุมชน
                      พลังงานทดแทน โดยทั่วไปหมายถึงพลังงานที่มีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติและสามารถมีทดแทนพลังงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อย่างเช่น ปิโตเลียม หรือถ่านหิน ได้อย่างไม่จำกัด  หรืออาจเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน ตัวอย่าง พลังงานทดแทนที่สำคัญเช่นแสงอาทิตย์ ลม คลื่นทะเล กระแสน้ำ ความร้อนจากใต้ผิวโลก หลังงานจากกระบวนการชีวภาพ เช่น บ่อก๊าซชีวภาพ เชื้อเพลงจากพืช หรือใบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว
                      หมู่บ้านหรือชุมชนมีการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของพลังงานทดแทน การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ทดสอบ พัฒนา และสาธิต ให้ประชาชนเลือกใช้ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อให้มีการผลิต และการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย มีความเหมาะสมทั้งทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมและสังคม ยังรวมถึงการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์เพื่อการใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย 
                              หมู่บ้านหรือชุมชน จัดให้มีกิจกรรมรณรงค์ สร้างจิตสำนึกการใช้พลังงานอย่างพอประมาณ  ในครัวเรือนสามารถดำเนินการได้เอง เช่น การลดการใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น การเปลี่ยนหลอดเป็นหลอดไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงาน การปิดไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ปรับซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานมาก การลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิง เช่น สูบน้ำด้วยการใช้กังหันลม หรือพลังงานจากแรงคน การเดิน การใช้จักรยานแทนรถยนต์ในการเดินทางที่ระยะทางไม่ไกล หรือการประหยัดพลังงานในรูปแบบอื่นที่มีผลต่อสังคมอื่นๆ เช่นประหยัดการใช้น้ำประปา สามารถช่วยชาติลดการใช้ไฟฟ้าหรือน้ำมันในการผลิตน้ำประปาได้ เป็นต้น การผลิตและใช้พลังงานในรูปแบบอื่นๆ เช่น การผลิตพลังงานจากสัตว์จากพืช ในรูปแบบต่างๆ  ซึ่งหมู่บ้านหรือชุมชนอาจจัดการรณรงค์การประหยัดพลบังงาน เป็นกิจกรรมประจำปี หรือกิจกรรมในวันสำคัญเพื่อส่งเสริมการลดการใช้พลังงาน เช่น การปิดไฟฟ้าพร้อมกันทั้งหมู่บ้าน ในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อให้เห็นคุณค่าของพลังงาน หรือกิจกรรมอื่นที่ร่วมกันทำทั้งหมู่บ้าน               
                ตัวชี้วัดที่ 23  หมู่บ้านหรือชุมชนมีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                              หมู่บ้านมีกระบวนการเรียนรู้ มีการพัฒนาและบริหารจัดการเพื่อการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน มีกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   เพื่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน เช่น หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงหัตถกรรม เชิงเกษตร อนุรักษ์  ด้วยการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาที่เป็นของชุมชน ตัวอย่างเช่น ชุมชนมีป่าของชุมชน และคนในชุมชนอาศัยผลิตภัณฑ์จากป่ามาใช้อุปโภค บริโภค  หมู่บ้านหรือชุมชน จึงจัดการออกกฎ ระเบียบการใช้ประโยชน์จากป่า มีการบำรุงรักษา เว้นช่วงการเข้าไปทำประโยชน์ นำผลิตผลจากป่ามาเปลี่ยนสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ ที่มีราคามีมูลค่าเพิ่มรายได้ เป็นต้น หรือชุมชนที่มีสถานที่ ทัศนียภาพสวยงามเหมาะแก่การหย่อนใจ หรือเหมาะแก่การฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย ชุมก็บริหารจัดการให้เป็นชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหรือชุมชนเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจอื่นๆ  ตามพื้นฐานภูมิสังคมในแต่ละชุมชน  หรือการนำวัตถุดิบในธรรมชาติของชุมชนมาเพื่อการ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ต่างๆ การทำปุ๋ยหมัก  การทำน้ำส้มควันไม้  ฯลฯ


1 ความคิดเห็น:

  1. อยากให้เพิ่มข้อมูลว่า หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของ อ.กระสัง อยู่ที่ไหนบ้าง ระดับการประเมิน จุดเด่นคืออะไร ผู้นำเป็นใคร ....CDD_Buriram

    ตอบลบ